เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 3. กินติสูตร

ต่อจากนั้น เธอทั้งหลายพึงเข้าใจบรรดาภิกษุผู้เป็นฝ่ายเดียวกันเหล่าอื่นว่า
ภิกษุรูปใดเป็นผู้ที่ตักเตือนได้ง่ายกว่า ควรเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
‘ท่านทั้งหลาย พระสมณะเมื่อทรงทราบเรื่องที่เราทั้งหลายสามัคคีกัน ร่วมใจกัน
ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ พึงเกิดการพูดยุแหย่กัน มีความเห็นแตกแยกกัน ผูกใจเจ็บ
ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันนั้น จะทรงตำหนิไหม’ ภิกษุเมื่อจะชี้แจงโดยชอบ พึง
ชี้แจงอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย พระสมณะเมื่อทรงทราบเรื่องที่เราทั้งหลาย
สามัคคีกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาอยู่ พึงเกิดการพูดยุแหย่กัน มีความ
เห็นแตกแยกกัน ผูกใจเจ็บ ไม่เชื่อถือกัน ไม่ยินดีต่อกันนั้น จะทรงตำหนิได้’ ก็
ภิกษุอื่นจะพึงถามเธอว่า ‘ท่านทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรมนี้แล้ว จะพึงทำนิพพาน
ให้แจ้งได้หรือ’ ภิกษุเมื่อจะชี้แจงโดยชอบ พึงชี้แจงอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย
ภิกษุไม่ละธรรมนี้แล้ว พึงทำนิพพานให้แจ้งไม่ได้’
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเหล่าอื่นพึงถามภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้มีอายุ
ภิกษุเหล่านี้ของเราทั้งหลายอันท่านให้ออกจากอกุศล ให้ดำรงอยู่ในกุศลแล้วหรือ’
ภิกษุเมื่อจะชี้แจงโดยชอบ พึงชี้แจงอย่างนี้ว่า ‘ท่านทั้งหลาย ในเรื่องนี้กระผม
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับแล้ว พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรม1แก่
กระผม กระผมฟังธรรมของพระองค์แล้วได้บอกแก่ภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่านั้นฟัง
ธรรมนั้นแล้ว ออกจากอกุศล ดำรงอยู่ในกุศลได้แล้ว’ ภิกษุเมื่อชี้แจงอย่างนี้
ชื่อว่าไม่ยกตน ไม่ข่มบุคคลอื่น และชื่อว่าชี้แจงอย่างสมเหตุสมผล ไม่มีเลยที่คำ
กล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมาจะเป็นเหตุให้ถูกตำหนิได้”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระ
ภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

กินติสูตรที่ 3 จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 4. สามคาสูตร

4. สามคามสูตร
ว่าด้วยเหตุการณ์ในหมู่บ้านสามคาม

[41] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ หมู่บ้านสามคาม แคว้นสักกะ
สมัยนั้นแล นิครนถ์ นาฏบุตรได้ถึงแก่กรรมไม่นาน ที่กรุงปาวา เพราะการถึง
แก่กรรมของนิครนถ์ นาฏบุตรนั้น นิครนถ์ทั้งหลายได้แตกกันเป็น 2 ฝ่าย ต่าง
บาดหมางกัน ทะเลาะวิวาทกัน ใช้หอกคือปากทิ่มแทงกันอยู่ว่า
“ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ แต่ผมรู้ทั่วถึง ท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้
อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด แต่ผมปฏิบัติถูก คำพูดของผมมีประโยชน์ แต่คำพูดของ
ท่านไม่มีประโยชน์ คำที่ควรพูดก่อนท่านกลับพูดภายหลัง คำที่ควรพูดภายหลัง
ท่านกลับพูดเสียก่อน เรื่องที่ท่านเคยชินได้ผันแปรไปแล้ว ผมจับผิดคำพูดของท่าน
ได้แล้ว ผมข่มท่านได้แล้ว ถ้าท่านมีความสามารถก็จงหาทางแก้คำพูดหรือเปลื้อง
ตนให้พ้นผิดเถิด”1
นิครนถ์เหล่านั้นทะเลาะกันแล้ว เห็นจะมีแต่การฆ่ากันอย่างเดียวเท่านั้นที่จะ
ลุกลามไปในหมู่ศิษย์ของนิครนถ์ นาฏบุตร แม้พวกสาวกของนิครนถ์ นาฏบุตรผู้
เป็นคฤหัสถ์ นุ่งขาวห่มขาว ก็เป็นผู้เบื่อหน่าย คลายความรัก รู้สึกท้อถอยใน
หมู่ศิษย์ของนิครนถ์ นาฏบุตร ทั้งนี้ เพราะธรรมวินัยที่นิครนถ์ นาฏบุตรกล่าวไว้
ไม่ดี ประกาศไว้ไม่ดี ไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบระงับ
เป็นธรรมวินัยที่ผู้มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ เป็นธรรมวินัยที่มีที่พำนัก
ถูกทำลายเสียแล้ว เป็นธรรมวินัยที่ไม่มีที่พึ่งอาศัย
[42] ครั้งนั้น พระจุนทสมณุทเทส2จำพรรษาอยู่ในกรุงปาวาได้เข้าไปหา
ท่านพระอานนท์ถึงหมู่บ้านสามคาม กราบแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับ
ท่านพระอานนท์ว่า